ทราบกันหรือไม่ว่า การจดทะเบียนบริษัทมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร สำหรับนักธุรกิจใหม่ที่กำลังจะจัดตั้งบริษัท เรามีเกร็ดความรู้เรื่องนี้มาฝากกันค่ะ
ประเภทแรกคือ บุคคลธรรมดา หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่า ธุรกิจเจ้าของคนเดียว ซึ่งธุรกิจประเภทนี้จะบริหารจัดการโดยคนเดียว และมีความเสี่ยงสูงหากขาดทุนจำนวนมาก เพราะไม่สามารถระดมทุนจากหุ้นส่วนได้ และจะต้องเสียภาษีแบบอัตาก้าวหน้า คือ หากรายได้มาก ก็ต้องเสียภาษีมากเช่นกัน โดยจะหักภาษีสูงสุดที่ 37%ของกำไรหลังหักค่าใช้จ่าย
ประเภทที่สองคือ นิติบุคคล ซึ่งให้เข้าใจง่ายๆคือ การทำธุรกิจตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยตกลงทำกิจการและแบ่งกำไรร่วมกัน ตามอัตราส่วนของหุ้นที่ถืออยู่ โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

head_logo.jpg

1.ห้างหุ้นส่วนสามัญ
– ธุรกิจประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นนิติบุคคลก็ได้ แต่จะมีสถานะเป็นคณะบุคคล โดยผู้ที่ถือหุ้สทุกคนจะต้องรับผิดชอบหนี้สินไม่จำกัดจำนวน

2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
– ธุรกิจประเภทนี้ต้องจดเป็นนิติบุคคล โดยแบ่งหุ้นส่วนเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1.หุ้นส่วนรับผิดชอบหนี้สินจำกัด คือจะรับผิดชอบหนี้สินไม่เกินวงเงินที่ได้ลงทุนไป แต่หุ้นส่วนประเภทนี้จะไม่มีสิทธิในการตัดสินใจหรือบริหารกิจการได้ 2.หุ้นส่วนผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนรับผิดชอบหนี้สินไม่จำกัดจำนวน หุ้นส่วนประเภทนี้มีสิทธิในการตัดสินใจและบริหารกิจการอย่างเต็มที่

3. บริษัทจำกัด
– ธุรกิจประเภทนี้ต้องจดเป็นนิติบุคคล และมีจำนวนผู้ก่อตั้งไม่น้อยกว่า 3 คน โดยหุ้นส่วนจะถือหุ้นมีมูลค่าเท่าๆกัน แต่จำนวนหุ้นอาจจะมากกว่า/น้อยกว่ากันได้ ในส่วนของการรับผิดชอบหนี้สิน จะไม่เกินจำนวนค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบเท่านั้น ธุรกิจรูปแบบนี้มีข้อดีที่สามารถระดมทุนได้ง่าย และมีการบริหารงานและตัดสินใจร่วมกัน

เมื่อทราบประเภทของการจดทะเบียนบริษัทแล้ว อาจจะช่วยทำให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น แต่เพื่อลดภาระในการติดต่อประสานงานเอง ซึ่งอาจทำให้เสียเวลามาก เพราะมีขั้นตอนในการจดทะเบียนและเอกสารเยอะ สำนักงานบัญชีช่วยท่านได้ เพราะมีบริการรับจดทะเบียนบริษัทครบวงจร เพียงท่านเตรียมเอกสารและข้อมูลให้ครบถ้วน ทางสำนักงานจะเป็นผู้ดำเนินการติดต่อประสานงานให้ทุกขั้นตอน ทั้งช่วยเซฟเวลาและสะดวก รวดเร็วด้วย